เมนู

ย่อมยังบุคคลให้บ่นว่า จิตของเราเกรียมแล้ว ไม่มีอะไร ๆ แจ่มใส ดังนี้.
มนะที่ถึงทุกข์ ชื่อว่า ทุมมนะ (เสียใจ) ภาวะแห่งทุมมนะนั้น ชื่อว่า
ความโทมนัส ชื่อว่า ลูกศร คือ ความโศกเศร้า ด้วยอรรถว่าแล่นเข้าไป
โดยลำดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสกสัลละ (ลูกศรคือความโศก).
คำว่า อยํ วุจฺจติ โสโก (นี้เรียกว่า โสกะ) ความว่า นี้เราย่อม
เรียกชื่อว่า โสกะ ก็ความโศกนี้ว่าโดยใจความก็ได้แก่ โทมนัสเวทนาอย่าง
เดียวเท่านั้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกนั้น อนฺโตนิชฺฌายนลกฺขโณ
มีการเผาไหม้ภายในเป็นลักษณะ เจตโส ปรินิชฺฌายนรโส มีการเผารนใจ
เป็นรส อนุโสจนปจฺจุปฏฺฐาโน มีความเศร้าโศกเนืองๆ เป็นปัจจุปัฏฐาน*.

พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์


ก็ในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์ นี้ ความว่า
โศกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะความโศกนั้นเป็นสภาว
ทุกข์ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์.
ถามว่า ของทุกข์ไหน ?
ตอบว่า ของทุกข์กาย และทุกข์คือโทมนัสในขณะแห่งชวนะ.
จริงอยู่ ด้วยกำลังแรงของความโศก ฝีใหญ่ย่อมตั้งขึ้นที่หัวใจสุกงอม
แล้วย่อมแตกออก และโลหิตดำย่อมไหลออกทางปากแผล ทุกข์ทางกายรุนแรง
ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อครุ่นคิดอยู่ว่า ญาติของเราเท่านี้สิ้นไปแล้ว โภคะของเรา
เท่านี้สิ้นไปแล้ว ดังนี้ โทมนัสแรงกล้าก็เกิดขึ้นได้.
* คำว่า โทสจิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐาโน โศกมีโทสจิตตุปบาทเป็นปทัฏฐาน ในที่นี้ท่านไม่กล่าวไว้.

พึงทราบโศกนี้ว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง 2 นี้
ด้วยประการฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง
สตฺตานํ หทยํ โสโก สลฺลํ วิย วิตุชฺชติ
อคฺคีตตฺโตว นาราโจ ภูสญฺจ อุหเต ปุน,
สมาวหติ จ พฺยาธิ ชรามรณเภทนํ
ทุกฺขํปิ วิวิธํ ยสฺมา ตสฺมา ทุกฺโขติ วุจฺจติ

โศก ย่อมเสียดแทงหทัยของเหล่า
สัตว์ดุจลูกศร และย่อมแผดเผาอย่างแรงกล้า
อีก เหมือนหลาวเหล็กเผาไฟสังหารอยู่
เพราะโศกนั้นย่อมนำมาพร้อมแม้ซึ่งทุกข์
ชนิดต่าง ๆ อันต่างโดยพยาธิ ชรา และมรณะ
ฉะนั้นโศกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า เป็นทุกข์แล.


ว่าด้วยนิเทศปริเทวะ

(บาลีข้อ 150)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปริเทวะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า อาเทวะ (ความร้องไห้) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์
เปล่งเสียงร้องไห้โดยอ้างว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน ดังนี้ ที่ชื่อว่า ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์คร่ำครวญถึงธิดาและบุตร
นั้น ๆ. บทละ 2 บท* ข้างหน้านอกจากบทที่ 2 บททีกล่าวนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสด้วยการขยายความโดยอาการของ 2 บท นั่นเอง. บทว่าวาจา
* ได้แก่ คำว่า กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ สภาพที่ร้องไห้ สภาพที่คร่ำครวญ